วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีการศึกษากับการพัฒนาครู

       ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT  กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide  ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน

          คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็น รูปแบบที่พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่อนสอน  ในการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนในรูปแบบการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

        เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ในการใช้คอมพิวเตอร์ของครู มีครูที่มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 31.26 ใช้ Internet ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 35.09 และการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 31.57 ใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 37.27 แสดงให้เห็นว่าครูยังมีความรู้ ความสารถด้านเทคโนโลยีเพียง ในระดับพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมากแล้วและไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีมาก่อนจึงทำให้เกิดการพัฒนาตนเองค่อนข้างช้ามาก โดยเฉพาะในเรื่องของการตั้งกลุ่มเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกือบจะไม่ได้ทำเลย และครูส่วนมากก็ไม่นำเทคโนโลยีไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีตลอดจนไม่สามารถติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องได้
        ครูใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูจะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาคอมพิวเตอร์คิดเป็นร้อยละ 26.12 ส่วนวิชาที่รองลงมาที่ครูนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่วิชาภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 14.61 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีโอกาสในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ในวิชาคอมพิวเตอร์มากกว่าวิชาอื่น ๆ ส่วนในรายวิชาอื่น ๆ ก็พอได้เรียนรู้บ้างแต่ไม่มากนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์นั้นคงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระดับดีพร้อมที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้    

         สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ของครูรายการที่ครูใช้มากได้แก่ ใช้พัฒนาทักษะวิชาชีพครู เตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน ค้นสารสนเทศ ทางการศึกษา และค้นคว้าเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รายการที่ครูไม่ได้ใช้เลย ได้แก่ สอนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับการนำเสนองาน ใช้สื่อสารระหว่างนักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องและใช้ตรวจสอบผลงาน/ทำรายงานของนักเรียน แสดงให้เห็นว่าสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ครูจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพครู มากกว่าการเตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน แสดงให้เห็นว่าครูใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาตนเอง เช่นจัดทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับให้กับตนเองมากกว่าที่จะค้นคว้าหาความรู้เพื่อเตรียมการสอนรวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
        การใช้ ICT ในการเรียนและบูรณาการความนำคอมพิวเตอร์ ถือเป็นสื่อนวัตกรรมใหม่อย่างหนึ่ง เพิ่งแพร่หลายขึ้นมาประมาณ 40 ปี มานี้เอง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บ คำนวณ ประมวลผล แสดงผล หรืองานอื่นใด ตามคำสั่ง ที่จัดทำขึ้น แล้วบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์นั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็วมาก จนเป็นสื่อสำคัญยิ่งในการนำเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ทุก ๆ วินาที สามารถรับรู้ความเป็นไปในทุกพื้นพิภพได้เกือบพร้อมกัน ทั้งที่อยู่กันคนละซีกโลก การรับรู้ข่าวสารที่รวดเร็วนำประโยชน์สู่ผู้ใช้ นำประโยชน์สู่ประเทศชาติได้อย่างมหาศาล เช่น สามารถติดต่อค้าขายกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องพบหน้ากัน ไม่มีข้อจำกัดของเวลา ไม่มีข้อจำกัดด้านพรมแดน สามารถใช้ระบบ E - Commerce และใช้ในเรื่องการศึกษา การแสวงหาความรู้ การสื่อสาร รวมถึงกิจการอื่น ๆ มากมาย หากผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์เป็นอย่างคุ้มค่า หลายปีที่ผ่านมาโรงเรียนที่มีความพร้อมเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนกันมากขึ้น โดยโรงเรียนดังกล่าวมักจะอยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดี ผู้ปกครองมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ช่วงแรกเริ่มใช้เพื่อการบริหารจัดการก่อน เรียกว่า Computer Assisted Management โปรแกรมนี้ช่วยจัดการด้านงานธุรการ เงินเดือน ห้องสมุด งานปกครอง และอื่น ๆ ระยะต่อมาคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง โรงเรียนต่าง ๆ เริ่มนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า " CAI " หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อเสนอเนื้อหา กระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ต้องการเรียนรู้ บทบาทของ CAI มีมากขึ้น ผลที่ได้ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการ ตรงตามความประสงค์ เป็นการตอบสนองความเป็น Child Center ได้ประการหนึ่ง ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนต่าง ๆ ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ปกครองเกิดความตื่นตัว ต้องการที่จะให้บุตรหลานได้เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์มากขึ้น จนกลายเป็นกระแสของความทันสมัย โรงเรียนใดไม่สอนวิชาคอมพิวเตอร์ ผู้ปกครองจะย้ายเด็กไปเรียนโรงเรียนอื่นที่สอนคอมพิวเตอร์ เป้าหมายสำคัญที่นอกเหนือไปจากภาระงานปกติของโรงเรียน คือการจัดการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน ผู้บริหาร คณะครู กรรมการสถานศึกษา


การพัฒนาบุคลากร

โรงเรียนประถมศึกษา โดยทั่วไปครูจะมีคุณวุฒิตรงสาขาวิชาเอกน้อยและยังไม่สามารถเลือกครูได้ตรงตามความต้องการของโรงเรียน จึงส่งผลถึงการจัดการเรียนการสอน หน้าที่ของโรงเรียนต้องดำเนินการ คือ พัฒนาให้ครูมีศักยภาพ สามารถทำงานสนองความต้องการของผู้เรียน และสนองตอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้

         การพัฒนาครู เป็นสิ่งจำเป็นโดยอาจดำเนินการพัฒนาครูได้ ดังนี้
         1. พัฒนาให้ครูทุกคนมีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ และใช้คอมพิวเตอร์จัดการเรียนการสอนได้
        2. กำหนดมาตรฐานเบื้องต้นของครูที่จะเข้าทำหน้าที่ครูคอมพิวเตอร์ ไว้ดังนี้
             2.1 ต้องมีวิสัยทัศน์ มีความคิดกว้างไกล ทันเหตุการณ์ของโลก          
             2.2 พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ให้รอบรู้และรู้รอบ ในเรื่องใหม่ ๆ อยู่เป็นนิจ
             2.3 ขยัน ทันสมัย ใจรัก สละเวลาคนที่มีใจรักในสิ่งใด มักจะทุ่มเท เสียสละ ขยัน มุ่งมั่นทำในสิ่งที่ตนรัก งานคอมพิวเตอร์ เป็นงานที่หนัก และมีความสำคัญสูง ด้วยครูมีภาระหลากหลาย ด้วยเหตุที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น ๆ เป็นฝ่ายบริการอำนวยความสะดวกได้ หลังจากที่โรงเรียนให้ความรู้ ฝึก และพัฒนาครูให้มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์แล้ว

       รูปแบบการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
       ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการแข่งขันการพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์ ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการศึกษากันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction) มีบทบาทและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการพัฒนาผู้เรียนอีกทางหนึ่ง โดยอาศัยประสบการณ์ ความรู้ ปรับประยุกต์ใช้ภายใต้บริบทของโรงเรียน
         1. จัดการเรียนรู้ "ตลอดเวลา" (Anytime) เวลาใดก็สามารถเรียนรู้ได้ ระยะแรกเริ่มให้นักเรียนสามารถใช้ Computer สืบค้นหาความรู้จากห้องสมุด ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการระบบ Internet
         2. เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ "ทุกหนแห่ง" (Anywhere) นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันจากสื่อต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ CAI และอื่นๆ
         3. การให้ทุกคน (Anyone) ได้เรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพของตน ตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไปการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้การเรียนรู้ในปัจจุบันแตกต่างจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนมีโอกาส มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ สร้างทักษะด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็น ผู้ให้คำแนะนำ นอกจากนี้ทั้งครูและศิษย์สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ การจัดการเรียนที่โรงเรียนดำเนินการได้ในขณะนี้
              1. การสอนโดยใช้สื่อ CAI ช่วยสอนให้เกิดการเรียนรู้ตามความสนใจ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม หรือ สปช. วิชาภาษาอังกฤษ
              2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นวิทยาการใหม่ ๆ จากอินเทอร์เน็ต จาก E-book จาก E-Library
              3. ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนและการค้นคว้าหาความรู้ โดยกำหนดให้ผู้เรียนได้เล่นเกมการศึกษา (Education Games ) ที่ผ่านการวิเคราะห์ของครูผู้รับผิดชอบว่าไม่เป็นพิษภัยต่อผู้เล่น และเป็นการสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ดีให้กับเด็ก
             4. ใช้แผนการสอนแบบ ICT บูรณาการเรียนรู้ในสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ คอมพิวเตอร์
             5. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนรู้
             6. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบและเผยแพร่ความรู้ 
             7. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น
             8. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน
ที่มา

บทสรุป
การนำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุข
ที่มา
http://learners.in.th/blog/sukuman18-2/271769
http://www.eschool.su.ac.th/school31/web1.htm
       
   ประโยชน์ของเว็บบล็อกกับการเรียนการสอน  

          1.ผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้  บันทึกข้อมูล  เรื่องราว  ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง  ถ้าผู้เรียนมีการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้  ( Knowledge  Assets ) ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวมและแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและ รวดเร็ว

มีอิสระทางความคิด

                2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที
เผยแพร่ความรู้อย่างเสรี

                  3. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เรียนเขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี 

แลกเปลี่ยนความคิด
     4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ของผู้เรียน ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เรียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ในกลุ่มที่เรียน

เครื่องมือค้นหาความรู้ใหม่ ๆ

                5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ การให้ผู้เรียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เรียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน

คีเวิร์ดหรือแก่นความรู้

        6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้ ของผู้เรียนโดยมีผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบมีการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog  ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ของผู้เรียนได้ในระดับหนึ่ง         


ที่มา  ความน่าเชื่อถือ  ความถูกต้อง 
 
            7. ได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น 
พัฒนาทักษะ

           เราจะประยุกต์ใช้ Blog เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้โดยผู้สอนควรปรับแต่ง Blog ให้น่าสนใจ ดึงดูดผู้เรียนให้อยากเข้ามาอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็น และเนื้อหาที่นำเสนอก็ไม่น่าเบื่อ Blog ยังให้โอกาสผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เท่านั้น ผู้เรียนก็จะสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ตลอด อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเปิดโลกทัศน์ของผู้เรียนผ่านการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งสืบค้นอีกด้วย




สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล(The Institute of Marine Science)กับเทคโนโลยีทางการศึกษา(Educational Technology)

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

              สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก "พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม"   ซึ่งก่อตั้งเดือน กันยายน ๒๕๑๒  โดยคณะอาจารย์ในภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน(มหาวิทยาลัยบูรพา ในปัจจุบัน)  ในปี ๒๕๒๓ พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น  ในมูลค่าถึง ๒๓๐ ล้านบาท รศ.ดร.ทวี หอมชง และคณะได้จัดทำโครงการและขยายงานนี้ออกไปเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๕ และเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงเป็นองค์ประธานเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ยกฐานะเป็นสถาบัน และได้รับอนุมัติให้เป็น "สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล" เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๘

บริเวณด้านหน้า

                  จัดแบ่งออกเป็นสามส่วน พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ ทางทะเล ได้แก่ โครงกระดูกปลาวาฬแกลบ ปลาทะเลลึก ลูกโซ่อาหารในทะเล แพลงตอน โลมา พยูนวัวทะเลหรือเงือก แมงกระพรุนและดอกไม้ทะเล ฟองน้ำ ปะการัง ปู กุ้ง หอย แอคไคโนเดิร์ม ปลาทะเล กระเบน ฉลาม โรนินโรนันและอนาก ปลาผิวน้ำ ปลาหน้าดิน ปลาในแนวปะการัง เต่าทะเล นกทะเล สาหร่ายทะเล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เครื่องมือประมง เครื่องมือสำรวจทางทะเล ทรัพยากรใต้ทะเล การทำเหมืองแร่ทะเล โบราณคดีใต้น้ำ อาหารจากทะเล ผลิตภัณฑ์ยาจากทะเล เครื่องใช้และเครื่องประดับจากทะเล โครงกระดูกโลมาอิวดี โครงกระดูกพยูน พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย




ภาพถ่ายจากตู้ที่จัดแสดง
   


ด้านบนของทุกตู้ที่จัดแสดง จะมีภาพและชื่อของปลาแต่ละชนิดบอกไว้
     
                 สถานเลี้ยงสัตว์ น้ำเค็ม ได้แก่ สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ปลาในแนวปะการัง การอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม ปลาเศรษฐกิจ ปลารูปร่างแปลกและมีพิษ ปลาที่อาศํยในมหาสมุทร และห้องปฏิบัติการวิจัยเป็นห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการศึกษาคุณภาพทางเคมีของน้ำทะเล การศึกษาธาตุปริมาณน้อยและโลหะหนักในน้ำทะเลและสัตว์บางชนิด ในห้องปฏิบัติการประกอบด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีราคาแพงและคุณภาพสูง ได้แก่ อะตอมมิคแอบซอบชั่น สเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (Atomic Absorption Spectrophotometer) ใช้สำหรับวิเคราะห์หาค่าประมาณโลหะหนักในน้ำ ในดินตะกอนและในตัวอย่างสัตว์, อินฟราเรด สเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (Infrared Spectrophotometer) ใช้สำหรับศึกษาโครงสร้างโมเลกุลของสารอินทรีย์, อุลตราไวโอเลต-วิสิเบิลเปคโครโฟโตมิเตอร์ (UV-VIS Spectrophotometer) ใช้สำหรับหาปริมาณของสารต่าง ๆ เป็นต้น งานในห้องปฏิบัติการนี้ส่วนใหญ่ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม โดยการเตรียมตัวอย่างน้ำ แล้วนำมาวัดปริมาณหาสารอนินทรีย์ที่มีผลกระทบต่อสัตว์ด้วยเครื่องอุลตราไวโอเลต-วิสิเบิลสเปคโตรโฟโตมิเตอร์

            ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางทะเลประกอบด้วยห้องปฏิบัติการรวม ๑๖ ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสมุทรศาสตร์(Oceanography Laboratory)   ห้องปฏิบัติการเคมี(Chemistry Laboratory)   ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา(Microbiology Laboratory)   ห้องปฏิบัติการอนุกรมวิธาน 1, 2(Taxonomy Laboratory I, II)   ห้องปฏิบัติการโรควิทยา(Pathology Laboratory)   ห้องปฏิบัติการนิเวศน์วิทยา 1, 2(Ecology Laboratory I, II)   ห้องปฏิบัติการแพลงตอนพืช(Phytoplankton Laboratory)   ห้องปฏิบัติการแพลงตอนสัตว์(Zooplankton Laboratory)    ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1, 2(Aquaculture Laboratory I, II) และห้องเครื่องมือวิทยาศาสตร์(Instrument Room)

            ส่วนที่เป็น พิพิธภัณฑ์ เป็นที่เก็บรวบรวม สรรพสิ่งมีชิวิต ในท้องทะเล มาจัดแสดงให้ชม โดยแยกประเภทสัตว์น้ำ ตามสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ของสัตว์ แต่ละชนิด

           สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพทางด้านวิทยศาสตร์ทางทะเลในภาคตะวันออกของประเทศไทย ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาค้นคว้าโดยเน้นการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตลอดจนสร้างความเป็นเลิศทางด้าน วิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ มีแนวทางพัฒนาสถาบันฯ ที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยเน้นความเป็นสากล การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการบริการวิชาการแก่ชุมชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของ ท้องถิ่นและยังประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
          
           ข้าพเจ้าได้ไปทัศนศึกษาที่สถานบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล  เลยได้เก็บรูปสวยมาฝาก หากสนใจก็ไปเที่ยวชมได้นะคะ













ร้านหนังสือ


           เวลาเปิดทำการ  วันธรรมดา (อังคาร-ศุกร์) ๘.๓๐-๑๖.๐๐ น. วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์-นักขัตฤกษ์) ๘.๓๐-๑๗.๐๐ น. *ปิดวันจันทร์*
       อัตราค่าเข้าชม อัตราปกติ (รายบุคคล) เด็ก ๑๐ บาท ผู้ใหญ ๒๐บาท นักเรียน, นิสิต, นักศึกษาในเครื่องแบบ ๕ บาท อัตราหมู่คณะ ของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกับสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล นักเรียน ๕ บาท ครู-อาจารย์ผู้ควบคุม ๑๐ บาท ผู้ใหญ่ ๒๐ คนขึ้นไปคนละ ๑๕ บาท
       รายการพิเศษ สำหรับสถานศึกษา การดำน้ำให้อาหารปลา วันธรรมดา (อังคาร-ศุกร์) วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์-นักขัตฤกษ์) เวลา ๑๐.๓๐ น. และ ๑๔.๓๐ น.
      สถานศึกษาที่ต้องการชมภาพยนต์ กรุณากรอกแบบฟอร์มการเข้าชมภาพยนต์และส่งกลับไปที่ งานประชาสัมพันธ์สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ (ไม่เสียค่าบริการ)

      หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ งานประชาสัมพันธ์สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล โทรศัพท์ (๐๓๘) ๓๙๑๖๗๑-๓ ทุกวันในเวลาราชการ